วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559


  
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
  วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559


เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
        - ตอนต้อนคาบอาจารย์ได้บอกข้อตกลงในห้องเรียนและปฐมนิเทศ 



     - เสร็จแล้วอาจารย์ ก็ได้แจกชีดเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อฝึกร้อง


- ก่อนจะเริ่มเรียนอาจารย์ก็ได้ให้ทดสอบจากความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา

- ต่อมาก็เริ่มเข้าเนื้อหาในการเรียน 

เรื่อง การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย



ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

- Jellen and Urban ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
- De Bono ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
- อุษณีย์  โพธิสุข  กระบวนการคิดหลายๆอย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องอิสระภาพทางความคิด


คุณค่าทางความคิดสร้างสรรค์
  • คุณค่าทางสังคม
  • คุณค่าต่อตนเอง
  • ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลินเพลิด
  • ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
  • มีความภูมิใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง
  • นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
  • ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
  • ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
  • พัฒนากล้ามเนื้อ
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
  1. ความคิดคล่องแคล่ว Fluency (ตอบได้ทันทีทันใด ตอบได้แบบรวดเร็ว)
  2. ความคิดริเริ่ม Originality  (คิดแปลกใหม่ คิดต่างจากบุคคลอื่น)
  3. ความคิดยืดหยุ่น Flexibility (ความคิดที่เกิดขึ้นทันที,ทางการดัดแปลง,แก้ปัญหา)
  4. ความคิดละเอียดลออ Elaboration (คิดเล็กคิดน้อย เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นดีขึ้น)

ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์  Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
  1. แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
  2. งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
  3. ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
  4. ปรับปรุงขั้นที่ 3 
  5. คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
*ของเล่นที่ส่งเสริมเด็กอนุบาลจะไม่ควรแบ่งแยกเพศ

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
  • ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
  • อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
  • ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
  • ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
  • ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดและทฤษฎีโคครงสร้างทางปัญญาของ Guilfond
  • อธิบายความสามารถของสอมงมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
  • ภาพ
  • สัญลักษณ์
  • ภาษา
  • พฤติกรรม 
มิติที่ 2 วิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง) 
  • การรู้และเข้าใจ
  • การจำ
  • การคิดแบบอเนกนัย
  • การคิดแบบเอกนัย
  • การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
  • หน่วย
  • จำพวก
  • ความสัมพันธ์
  • ระบบ
  • การแปลงรูป
  • การประยุกต์

ทฤษฎี Constructivism
  • เด็กเรียนรู้เอง
  • เด็กคิดเอง
  • ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
  • สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ Torrance
  • ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ

                   ขั้นที่ 1 การพบความจริง
                   ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
                   ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
                   ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
                   ขั้นที่ 5 ยอมรับผล

บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  • เด็กรู้สึกปลอดภัย
  • ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
  • ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
  • ขจัดอุปสรรค
  • ไม่มีการแข่งขัน
  • ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  • มีไหวพริบ
  • กล้าแสดงออก
  • อยากรู้อยากเห็น
  • ช่างสังเกต
  • มีอารมณ์ขัน
  • มีสมาธิ
  • รักอิสระ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  • Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
            ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
            ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
                                (Producing Something and Using It)
            ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)

แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
  • ส่งเสริมให้เด็กถาม
  • เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
  • ยอมรับคำถามของเด็ก
  • ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
  • แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
  • ค่อยเป็นค่อยไป
  • ยกย่องชมเชย
  • ไม่มีการวัดผล

     - พอเรียนรู้เกี่ยวทฤษฎีเสร็จอาจารย์ก็แจกกระดาษให้คนล่ะ หนึ่งแผ่นให้พับจรวดตามความคิดสร้างสรรค์ของตัว ทำยังไงก็ได้ให้จรวดบินเข้ากล่องสีให้ได้

นี่คือผลงงานของ ดิฉันเอง ค่ะ



  - กิจกกรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วก็ให้กระดาษ 100 ปอน มาคู่ละ 1 แผ่นพร้อมกับให้ทั้งสองไปหยิบสีที่ตัวเองชอบมาคนละหนึ่งสี โดยที่อาจารย์ให้ตั้งสมาธิกับเสียงดนตรีที่อาจารย์เปิดแล้วก็ให้นักศึกษาขีดเส้นไปตามเสียงเพลงที่ได้ยิน พอจบเพลงก็หยุดวาดรูปทันที พร้อมกับให้นักศึกษามองในภาพวาดของตัวเอง ว่าเห็นเป็นรูปอะไรตามความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง

 และนี่ก็คืผลงานของคู่ดิฉัน ภาพออกมาคือ ปลาโลมาน้อยผูกโบว์




และนี่คือผลงานของเพื่อนๆ ทั้งห้องค่ะ



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก มีสิ่งมาจูงใจให้นักศึกษาสนใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น