บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาและความรู้ที่ได้รับ
- ก่อนจะเริ่มกิจกรรมอาจารย์ได้ให้ คลิปวีดีโอ สาธิตความปลอดภัยบนรถเมย์
- ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม Marshmallow Tower เพื่อที่จะให้นักศึกษาเกิดทักษะของการคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีภายในกลุ่มเกิดการวางแผนก่อนการทำงาน โดยอาจารย์จะมีอุปกรณ์ให้ คือ กระดาษ 1 แผ่น ดินน้ำมัน 3 แท่ง และ ก็ไม้จิ้มฟัน
- ก่อนจะทำกิจกรรมอาจารย์ได้ตั้งกติกาว่า ให้ทำยังไงก็ได้ต่อให้สูงที่จากอุปกรณ์ทั้งสามชนิดนี้
รอบที่ 1 ให้ทุกคนภายในกลุ่มต่ออุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ ยังไงก็ได้ให้สูงที่สุดโดยห้ามพูดคุย กันในกลุ่ม
รอบที่ 2 ให้ 1 คนในกลุ่มพูดได้แต่ไม่ให้ช่วย เพราะต้องเป็นคนออกคำสั่งให้เพื่อนทำ
รอบที่ 3 ทุกคนภายในกลุ่มพูดคุยกันได้ปรึกษา และระดมความคิดของคนในกลุ่ม
ผลออกมาคือ กลุ่มของดิฉันทำได้
รอบที่ 1 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 29
รอบที่ 2 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 45
รอบที่ 3 กลุ่มของดิฉันมีความสูงอยู่ที่ 65
- พอทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ก็สอนเกี่ยวทฤษฎี
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น
- กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
- ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
- ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
- สำรวจ จับต้องวัตถุ
- ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
- อายุ 1 ½ - 2 ปี
- การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
- เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
- 2 ขวบขึ้นไป
- สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
- เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ
- ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
- ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นกลางแจ้ง
การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
การเล่นตามมุมประสบการณ์
การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้างการเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
-
การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
- ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
- กระบวนการเรียนรู้
- กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
- เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
- การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
- ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
- ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
- มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- มีการสรุปท้ายกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ก็คือ อาจารย์ให้จับเหมือนเดิม เพื่อทำกิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ เรือที่ประดิษฐ์จะเป็นแบบไหนก็ได้ ตามความคิดสร้างสรรค์ของคนในกลุ่ม โดยที่ อาจารย์มีอุปกรณ์ให้ก็คือ กระดาษ,หลอด,หนังยาง ทำยังไงก็ได้ให้บรรทุกซอลให้ได้เยอะที่สุด
นี่คือเรือของกลุ่มดิฉัน
นี่คือผลงานของเพื่อนทั้งห้อง
ผลออกมาของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง
กลุ่มที่ห้าบรรทุกได้ 12 ซอง
กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง
กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์สั่งขึ้นมา จับกลุ่มเหมือนเดิมเพื่อทำกิจกรรม ดีไซเนอร์ระดับโลก ทำตามหัวข้อที่กำหนด
มาดูผลงานของกลุ่มเรากันเลยค่ะ
มาดูผลงานของกลุ่มเพื่อนๆเราบ้างค่ะ
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ทุกคนสนุกกับกิจกรรมที่ทำเป็นอย่างมาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น